ชุดแขนจับราคาประหยัดเพื่อช่วยบัดกรีแผ่น PCB
ความเป็นมา
เนื่องจากในรายวิชาโครงงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ นักศึกษาที่ต้องการบัดกรีแผ่น PCB หรือชิ้นงานด้านฮาร์ดแวร์ต่างๆ ประสบปัญหาในหลายอย่างเช่น ชิ้นงานมีขนาดเล็ก ทำงานไปชิ้นงานจะเลื่อน และอันตรายต่อการสูดดมควันจากตะกั่ว จึงต้องการออกแบบชุดแขนจับราคาประหยัดเพื่อช่วยบัดกรีแผ่น PCB ซึ่งจะสามารถช่วยแก้ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นได้ ทั้งยังสามารถนำไปใช้เพื่อการเรียนการสอนได้อีกด้วย
วัตถุประสงค์และ ประโยชน์ในการนำไปพัฒนางานประจำ
- ใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนวิชาปฎิบัติการด้านฮาร์ดแวร์ ของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ได้
- ใช้เป็นเครื่องมือในการทำโครงงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ Project, Assigment ได้
- นักศึกษาสามารถนำไปใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสะดวกมากขึ้น
- สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจับวัสดุหรือชิ้นงานอื่นๆได้
- บุคลากรในสายงานด้านฮาร์ดแวร์มีความสะดวกในการทำงานมากขึ้น
- ใช้งานซ่อมประกอบวัสดุบอร์ด PCB ในงานประจำอย่างสะดวกมากขึ้น
แบบจำลอง
ประกอบไปด้วยแขนช่วยจับบอร์ด PCB จำนวน 3 แขนใช้ข้อต่อชุดละ 8 ข้อต่อ มีแขนระบบไฟสว่าง และแขนพัดลมดูดอากาศใช้ข้อต่อ 12 ชิ้น โดยใช้แบตเตอรี่ 12 VDC เป็นแหล่งจ่าย มีสวิตช์เป็นตัวเปิดปิด ดังแสดงในรูป
สรุปผลภาพรวมของแขนจับราคาประหยัดเพื่อช่วยบัดกรีแผ่น PCB VoIP
ตำแหน่ง |
ส่วนประกอบ |
หน้าที่/การใช้งาน |
1 |
แขนจับ 1 |
ช่วยจับชิ้นงาน |
2 |
แขนจับ 2 |
ช่วยจับชิ้นงาน |
3 |
แขนจับ 3 |
ช่วยจับชิ้นงาน |
4 |
ร่องวางวัสดุ |
ไว้วางวัสดุต่างๆ |
5 |
แขนไฟส่องสว่าง |
เป็นไฟส่องสว่างแขนงอได้อิสระ |
6 |
แขนจับพัดลมดูดอากาศ |
ดูดควันตะกั่วแขนงอได้อิสระ |
7 |
สวิตช์ |
เปิด-ปิดไฟส่องสว่างและพัดลม |
8 |
ที่วางหัวแรง |
ไว้วางหัวแร้ง |
9 |
แบตเตอรี่ |
จ่ายไฟให้ไฟส่องสว่างและพัดลม |
การนำแขนจับราคาประหยัดเพื่อช่วยบัดกรีแผ่น PCB ไปใช้งาน
สิ่งที่ต้องเพิ่มเติมและปรับปรุงต่อไป
- ควรมีสวิตช์แยกสำหรับไฟส่องสว่างและพัดลมดูดอากาศ
- ถ้ามีตัวจ่ายไฟสำหรับต่อหัวแร้งได้จะดีมาก
- ตัวแขนส่องสว่างยังปรับงอไม่ทั่วถึง
- เพิ่มแขนจับเป็น 4 แขนเพื่อจับชิ้นงานได้หลากหลายยิ่งขึ้น
เอกสารประกอบ
สมาชิกทีม
หัวหน้าโครงการ: นายอนุพงศ์ รองมาก ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (วิทยาเขตภูเก็ต)ทีมงาน:
- อ.ยศวีย์ แก้วมณี ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (วิทยาเขตภูเก็ต)
- ดร. อภิชาติ หีดนาคราม ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (วิทยาเขตภูเก็ต)
จัดทำ: ปี 2556
Contact us: anupong (at) coe.phuket.psu.ac.th