ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้รับการจัดตั้งเป็นภาควิชาในสังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 โดยมีนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 30 คน จนถึงปัจจุบันรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ทั้งวิทยาเขตหาดใหญ่ และ ภูเก็ต โดยแต่ละวิทยาเขตเปิดรับนักศึกษารุ่นละประมาณ 120 คน และนอกจากมีการเรียนการสอนในหลักสูตรปริญญาตรีแล้ว ภาควิชาฯ ยังเปิดการเรียนการสอนระดับมหาบัณฑิต ในปี พ.ศ. 2544 และปรัชญาดุษฎีบัณฑิตในปี พ.ศ. 2547 อีกด้วย ซึ่งในระดับบัณฑิตศึกษา ปัจจุบันมีนักศึกษาในปีการศึกษา 2552 รวมทั้งหมด 51 คน ในจำนวนนี้มีนักศึกษาต่างชาติรวมทั้งสิ้น 10 คนซึ่งเป็นนักศึกษาในประเภท Research Program หรือทำวิทยานิพนธ์ ทั้งสิ้น
ประวัติโดยสังเขป
- 2532 เริ่มโครงการจัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ โดยเปิดหลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี
- 2532 ได้รับการจัดตั้งเป็นภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ โดยเปิดสอบหลักสูตร ปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- 2544 เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- 2545 เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาเขตภูเก็ต
- 2547 เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- 2549 วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หลักสูตรปรับปรุง
- 2550 วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หลักสูตรปรับปรุง
- 2553 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หลักสูตรปรับปรุง
ภารกิจหลัก
เน้นความเป็นเลิศ และบูรณาการในสาขาวิชา ต่อไปนี้
- วิศวกรรมสารสนเทศ (Information Engineering)
- วิศวกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networks and Communications Engineering)
- วิศวกรรมการออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Systems Design Engineering)
- วิศวกรรมระบบควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer Control Systems and Robotics Engineering)
วิสัยทัศน์
“จัดการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและคุณธรรม มีผลงานวิจัยเป็นที่ยอมรับ”
พันธกิจ
- บริหารจัดการหลักสูตรได้ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร
- สร้างกระบวนการรับ ส่งเสริม และพัฒนานักศึกษาให้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรอย่างเป็นระบบ
- สร้างระบบทวนสอบผลการเรียนรู้ของนักศึกษา และมีการประเมินการจัดการเรียนการสอน
- ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและคุณธรรมเป็นที่ต้องการของผู้ใช้บัณฑิต และมีอัตราการได้งานทำสูง
- พัฒนาอาจารย์ให้มีคุณภาพ มีผลงานทางวิชาการและวิจัยอย่างต่อเนื่อง
- จัดสรรทรัพยากรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ให้เพียงพอ และผู้ใช้มีความพึงพอใจในการบริการของบุคลากร
เป้าประสงค์
- เพื่อเสริมสร้างงานวิจัยในสาขาที่มีศักยภาพไปสู่ความเป็นเลิศ
- เพื่อสร้างและถ่ายทอดผลงานวิจัยที่ตอบสนองต่อความต้องการของประเทศ และเชื่อมโยงสู่สากล
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ คิดเป็น ทำเป็น มีคุณธรรม และจิตสำนึกสาธารณะ
- เพื่อบูรณาการองค์ความรู้สู่สังคมและชุมชน
- เพื่อบริหารจัดการองค์กรเชิงรุกอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
- เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ และปรับวัฒนธรรมองค์กร สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยมีการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ